Contents
บ้านสไตล์มินิมอลชั้นเดียว

สร้างบ้านในแบบที่เราต้องการ villasproperty.live ได้ยกตัวอย่าง บ้านสไตล์มินิมอลชั้นเดียว ชวนมาอยู่บ้านมินิมอลเล็กเรียบ ที่สงบปนอบอุ่นTwin Peaks House เป็นโปรเจ็คการต่อเติมอาคารในใจกลางโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมดั้งเดิมในการสร้างพื้นที่ร่วมสมัยสำหรับครอบครัวหนุ่มสาว โจทย์ที่สถาปนิกได้รับมาสั้น ๆ
คือเจ้าของต้องการขยายพื้นที่ใช้สอยของบ้านให้มากขึ้นและต้องการให้บ้านเต็มไปด้วยช่องว่างดูโปร่งสบาย ในขณะที่นักออกแบบคิดใหม่ว่าจะใช้ช่องว่างได้อย่างไร ก็เห็นว่าน่าจะนำจุดแข็งหลักของบ้านเก่าที่สร้างมาก่อนแล้ว ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบด้วยการตัดสินใจเลือกใช้ชุดสีเรียบง่าย เน้นรูปทรงหลังคาแหลมในสัดส่วนพิเศษที่ทำให้บ้านดูโอ่โถงขึ้นจึงดูเหมือนเป็นบ้านแฝดมีหลังคา 2 หลังในพื้นที่เดียว
สถาปนิกแบ่งพื้นที่ใช้งานเป็นสามส่วนหลัก ๆ คือ โซนในอาคาร สนามหญ้า และเฉลียงบ้าน ซึ่งเป็นสเปซกึ่งกลางแจ้งขนาดกะทัดรัดที่เอาไว้เพื่อดึงให้ทุกคนในบ้านออกมานั่งชิล ๆ พักผ่อนรับความสดชื่นจากสวน ลม แสงแดด ท้องฟ้า ซึ่งทำให้ชีวิตมีชีวามากกว่าอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ตรงช่องว่างด้านข้างที่ติดกับเพื่อนบ้านยึดลวดสลิงเป็นเส้นแนวตั้งเรียงไป แล้วปลูกไม้เลื้อยข้างล่างให้เถาไม้ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปจนเต็มก็จะกลายเป็นกำแพงธรรมชาติที่สร้างความเป็นส่วนตัวพร้อม ๆ กับเติมความสดชื่นของพื้นที่สีเขียวให้กับบ้านได้อีก
เปิดรับแสงและธรรมชาติอย่างอิสระ
แต่ละห้องมีประตูหน้าต่างกระจกใสบานใหญ่ที่พับเก็บเข้าด้านข้างได้ จึงสามารถเปิดออกรับแสงธรรมชาติให้เข้าไปส่องสว่างภายในได้เต็มที่ พร้อม ๆ กับต้อนรับอากาศภายนอกให้เข้าไปหมุนเวียนภายในได้เต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของพื้นที่ต่อเติมใหม่นี้ก็ได้มุมมองสวนชวนให้สบาย ดูมีอิสระไม่อึดอัดเหมือนบ้านเดิมที่เต็มไปด้วยผนังทึบ

ภายในเป็นพื้นที่ใช้งานส่วนรวม ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร และครัว ที่วางเรียงต่อกันไปในพื้นที่เดียว สมาชิกในครอบครัวทุกคนจึงสามารถเข้ามาใช้พื้นที่พร้อม ๆ กันและทำกิจกรรมที่หลากหลายด้วยกันได้ในคราวเดียว สำหรับการตกแต่งภายในเน้นความมินิมอล ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่เกินจำเป็นซึ่งจะรกตาและกีดขวางทางสัญจร Mood&tone หรืออารมณ์ความรู้สึกของบ้านเน้นความเรียบง่าย สบายตา ผ่อนคลาย จึงเลือกใช้โทนสีขาวเป็นหลักเพราะสามารถสื่อสารถึงความเรียบง่ายได้ดี ตัดความนิ่งให้เกิดมิติที่มากขึ้นด้วยของแต่งบ้านสีเทา สีเหลืองมัสตาร์ด สีดำ และงานไม้
แผ่นพื้นของบ้านเป็นไม้สีอ่อน ๆ ขนาดเล็กวางในแพทเทิร์นแบบก้างปลา ทำให้ภายในเต็มไปด้วยสัมผัสความรู้สึกอบอุ่น ในขณะเดียวกันหลังคาในส่วนที่ลึกเข้าไปในบ้านเป็นทรงจั่วสูงขึ้นเกือบสองเท่าของหลังคาบ้านปกติ ซึ่งเป็นวิธีการที่นักออกแบบใช้เพื่อเพิ่มความรู้สึกพิเศษและโอ่โถงแม้จะไม่ได้ตกแต่งอะไรหรูหรา ความสูงของหลังคานี้ถูกเน้นให้เห็นสัดความความสูงชัดเจนขึ้นด้วยการใช้ผนังไม้บริเวณครัวตัดกับผนังอื่น ๆ ที่เป็นสีขาวทั้งหมด แม้ว่าจะคุมโทนสีที่เรียบง่ายแต่มีคุณภาพและให้สัดส่วนที่ดูยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน
ไม่เพียงแค่มีผนังกระจกเป็นพื้นที่ช่วยดึงแสงเข้าสู่อาคารจากด้านข้างเท่านั้น ในส่วนที่ลึกเข้าไปในอาคารนักออกแบบเพิ่มช่องแสง skylight สี่เหลี่ยมบนหลังคา เพื่อที่แสงกระจายเข้าสู่ตัวบ้านจากด้านบนในจุดที่แสงไปไม่ถึงด้วย ทำให้บ้านสว่างด้วยแสงแดดธรรมชาติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้ค่อนข้างมาก
ในการตกแต่งบ้านนอกจากการเลือกวัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่จะเป็นตัวนำเสนอแนวคิดแล้ว สี ยังเป็นอีกองค์ประกอบที่สามารถบ่งบอกถึงความรู้สึกอารมณ์และการรับรู้ของผู้คนได้ หากเราคุมธีมการใช้สีให้เหมาะสมกับอารมณ์ของบ้าน จะสามารถทำให้ทุกพื้นที่ของบ้านมีพลังทางการสื่อสารได้อย่างดีเยี่ยม
แม้ว่าจะใช้สีขาวที่ดูจืดชืดเป็นสีหลักก็ตาม สำหรับความสูงและความต่ำของเพดานก็มีส่วนต่อความรู้สึกเช่นกัน เช่น ระยะเพดานสูงจะทำให้ดูโอ่โถงเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่ได้สัดส่วนกับบ้านหรือสูงเกินไปก็จะดูเวิ้งว้าง เป็นต้น ต้องเลือกพื้นที่ที่จะใช้และดูในภาพรวมให้ดี เพื่อให้บ้านตอบโจทย์ที่สุด
ข้อดีของบ้านชั้นเดียว

1. งบประมาณน้อยกว่า
มีงบประมาณไม่เยอะมาก สามารถซื้อบ้านชั้นเดียว หรือออกแบบบ้านชั้นเดียวขนาดกะทัดรัดได้ เนื่องจากโครงสร้างหลักของบ้านไม่ซับซ้อนมากนัก หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน 2 ชั้น ค่าก่อสร้างจึงต่ำกว่า
2. ตอบโจทย์ครอบครัวที่มีสูงอายุ/เด็กเล็ก
บ้านชั้นเดียวเหมาะสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและผู้ที่นั่งวีลแชร์ เพราะห้องต่าง ๆ และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถูกรวบรวมไว้ครบในชั้นเดียว จึงไม่ต้องปวดเมื่อยหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได และยังสะดวกในกรณที่ใช้วีลแชร์ สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก วัยกำลังซุกซน การอยู่อาศัยในบ้านชั้นเดียว ทำให้ไม่ต้องกังลหรือเฝ้าระวังว่าเด็ก ๆ จะปีนป่ายบันไดและผลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บ
3. สะดวกในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์
อยู่บ้านชั้นเดียว ไม่ต้องเหนื่อยกับการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ขึ้น-ลงบันได เพราะไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ ก็จัดวางอยู่ที่ชั้น 1 ของบ้าน ช่วยทุ่นแรงได้มาก

4. ดูแลรักษาง่าย
ถูกใจคุณแม่บ้านพ่อบ้าน เพราะด้วยขนาดพื้นที่ของบ้านชั้นเดียว ทำให้ไม่ต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดมาก ยิ่งถ้าต้องถึงเวลาที่ต้องรีโนเวทบ้าน ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่เสียหายหรือทรุดโทรม เช่น ซ่อมหลังคารั่ว ทาสีผนังใหม่ ก็สามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
5. ตกแต่ง/ต่อเติมง่าย
โครงสร้างบ้านชั้นเดียวไม่ได้ซับซ้อนมากนัก หากมีพื้นที่มากพอก็สามารถต่อเติมและดัดแปลงพื้นที่ได้สะดวกกว่า แต่ในการจะต่อเติมต้องดูว่าไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
1. เริ่มต้นด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า: สามารถออกแบบให้เป็นบ้านหลังเล็กหรือขนาดกระทัดรัดได้ โครงสร้างหลักของบ้านไม่ซับซ้อนมากนัก หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน 2 ชั้น ค่าก่อสร้างเริ่มต้นย่อมสูงกว่า จึงเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นครอบครัวใหม่และมีงบประมาณจำกัด แต่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังใหม่ อย่างไรก็ดี บ้านชั้นเดียวก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นบ้านขนาดเล็กเท่านั้น
2. เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและผู้ที่นั่งวีลแชร์: เพราะห้องต่าง ๆ และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถูกรวบรวมไว้ครบในชั้นเดียว ทำให้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของเรา ไม่ต้องปวดเมื่อยหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได ผู้ที่นั่งวีลแชร์ยังสามารถไปยังห้องต่าง ๆ เองได้สะดวก ช่วยให้พวกท่านไม่อึดอัดและรู้สึกพึ่งพาตัวเองได้
นอกจากนี้ บ้านชั้นเดียว ยังเหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ๆ ซึ่งเป็นวัยกำลังซุกซน ทำให้ไม่ต้องกังลหรือเฝ้าระวังว่า เด็ก ๆ จะปีนป่ายบันไดและผลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บ
3. สะดวกในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์: ไม่ต้องลำบากยกเฟอร์นิเจอร์ขึ้น-ลงบันได จึงช่วยทุ่นแรงได้มากสำหรับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ๆ หรือกับผู้ที่อาศัยอยู่บ้านคนเดียว และยังช่วยลดโอกาสที่เฟอร์นิเจอร์จะชำรุดเสียหายระหว่างเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ อีกด้วย
4. ดูแลง่าย: บ้านชั้นเดียวทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า ทั้งยังใช้เวลาไม่นานจนเกินไป นอกจากนี้ หากต้องซ่อมบำรุงส่วนต่าง ๆ ภายนอกบ้าน อาทิ ซ่อมหลังคา ทาสีบ้านใหม่ ทำความสะอาดผนัง ก็สามารถทำได้สะดวกกว่า ไม่ต้องปีนบันไดสูง ๆ เพื่อขึ้นไปยังชั้นสอง และไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตกจากที่สูง ๆ มากนัก
5. ตกแต่ง/ต่อเติมพื้นที่ง่าย: เพราะโครงสร้างบ้านชั้นเดียวไม่ซับซ้อน หากมีพื้นที่มากพอก็สามารถต่อเติมและดัดแปลงพื้นที่ได้สะดวกกว่า

ข้อด้อยของบ้านชั้นเดียว
1. ใช้ขนาดที่ดินค่อนข้างมาก
บ้านชั้นเดียวจะต้องใช้ขนาดที่ดินมากกว่าบ้านสองชั้น จึงจะได้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านตามต้องการ ทำให้ต้องเสียเงินซื้อที่ดินเพิ่มมากขึ้น หรือทำให้ราคาบ้านชั้นเดียวแพงขึ้น อีกทั้งหากอยากจะขยับขยายต่อเติมในอนาคต การมีขนาดที่ดินน้อยก็เป็นข้อจำกัดได้
2. ถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ไม่ดี
ด้วยความที่ทุกห้องอยู่ติดกับหลังคาโดยตรง ทำให้ความร้อนจากหลังคาแผ่เข้ามาภายในบ้านโดยตรง แต่สามารถป้องกันความร้อนได้ด้วยการติดฉนวนกันความร้อน หรือติดแผ่นสะท้อนความร้อน หรือเลือกใช้กระเบื้องหลังคาสะท้อนความร้อน และออกแบบบ้านชั้นเดียวให้มีช่องระบายอากาศให้อากาศถ่ายเท
3. เสี่ยงน้ำท่วม/ความชื้น
บ้านชั้นเดียวอาจเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมได้ หากตั้งอยู่ในทำเลที่มีน้ำท่วมบ่อยครั้ง อาจะทำให้ตัวบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งอาจต้องเจอกับปัญหาความชื้นของดิน ที่อาจทำให้เกิดปัญหาปลวกและเชื้อรา บ้านชั้นเดียวจึงควรสร้างให้ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 0.80-1.20 เมตร
4. เสี่ยงต่อสัตว์มีพิษ/โจรขโมย
สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หรือโจรขโมย มักจะชอบหมายปองบ้านขั้นเดียว เพราะเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย ดังนั้นบ้านชั้นเดียวจึงควรทำรั้วบ้านให้แข็งแรง ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ป้องกันภัย และปิดบ้านให้มิดชิด
5. ความเป็นส่วนตัวค่อนข้างน้อย
บ้านชั้นเดียวแม้จะมีฟังก์ชั่นครบ แต่ด้วยพื้นที่ใช้สอยที่จำกัด และอยู่ในชั้นเดียวของบ้าน จึงอาจทำให้ความเป็นส่วนตัวลดลงได้ บ้านชั้นเดียวจึงเหมาะกับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดเล็ก ในการออกแบบแปลนบ้าน อาจเพิ่มส่วนข้างบ้านเพื่อความผ่อนคลาย มีมุมส่วนตัวเพิ่ม ทำให้ไม่ให้รู้สึกอึดอัด
บ้านชั้นเดียว เหมาะกับใคร
จากข้อดีและข้อด้อยที่สรุปมา บ้านชั้นเดียวเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นครอบครัวใหม่และมีงบประมาณจำกัด แต่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังใหม่ โดยบ้านชั้นเดียวก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นบ้านขนาดเล็กเท่านั้น หากที่ดินมีขนาดใหญ่ ก็สามารถสร้างบ้านชั้นเดียวที่มีฟังก์ชั่นครบได้ไม่ต่างจากบ้าน 2 ชั้น
1.ใช้พื้นที่ดินค่อนข้างมาก: การสร้างบ้านชั้นเดียวจะต้องใช้ที่ดินมากกว่าการปลูกบ้านสองชั้น จึงจะได้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านตามต้องการ ซึ่งคุณอาจจะต้องเสียเงินค่าซื้อที่ดินเพิ่มมากขึ้น และหากมีพื้นที่น้อยเกินไปก็อาจจะขยับขยายหรือต่อเติมได้ยากในอนาคต
2. การถ่ายเทความร้อนภายในบ้าน: เพราะเพดานภายในบ้านหรือทุกห้องอยู่ติดกับหลังคา ความร้อนจากหลังคาจึงแผ่เข้าโดยตรงในทุกพื้นที่ใช้สอยของตัวบ้าน เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านสองชั้นที่รับความร้อนจากหลังคาเฉพาะชั้นบน ซึ่งถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนอากาศภายในบ้านก็จะร้อนอบอ้าวมาก ดังนั้นจึงควรต้องป้องกันความร้อนด้วยการติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเดดาน หรือติดแผ่นสะท้อนความร้อนที่ใต้กระเบื้องหลังคา หรือเลือกใช้กระเบื้องหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน รวมทั้งออกแบบบ้านให้มีช่อเปิดประตู-หน้าต่างโดยรอบให้มากพอ เพื่อให้อากาศถ่ายเทหรือมีลมพัดผ่านได้ดี
3. ปัญหาน้ำท่วมและความชื้น: บ้านชั้นเดียวมักยกพื้นไม่สูงจากพื้นดินมากนัก จึงเสี่ยงกับปํญหาน้ำท่วมบ้านได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วมบ่อยครั้ง การไม่มีพื้นที่ใช้สอยชั้นบนที่สามารถขนย้ายเครื่องใช้ภายในบ้านหรือทรัพย์สินไปเก็บไว้สูง ๆ อาจทำให้ทรัพย์สินภายในบ้านเสียหายได้หากเกิดภัยน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีเรื่องความชื้นของดิน ที่อาจจะส่งผลเสียต่อวัสดุตกแต่งพื้น-ผนัง อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องปลวกและเชื้อรา อันมีสาเหตุมาจากความชื้นของผืนดิน ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยการสร้างบ้านในลักษณะที่ยกพื้นบ้านให้สูงจากพื้นดินประมาณ 0.80-1.20 เมตร เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว
4. ความปลอดภัย : บางครั้งอาจถูกรบกวนด้วยสัตว์เลื้อยคลาน แมลง หรือโจรผู้ร้าย เข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย จึงควรทำรั้วบ้านให้แข็งแรง ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ป้องกันภัย และปิดบ้านให้มิดชิดทุกครั้ง เมื่อเข้านอนหรือไม่มีคนอยู่บ้าน
5. ความเป็นส่วนตัวค่อนข้างน้อย : ด้วยพื้นที่ใช้สอยอันจำกัดของตัวบ้าน ทุกห้องถูกแบ่งสรรไว้ที่ชั้นเดียวกันหมด หากมีแขกหรือญาติมาเยี่ยม หรือมาขออาศัยอยู่ด้วย อาจเข้าถึงห้องนอนหรือห้องสำคัญของคุณได้ง่าย ฉะนั้น การออกแบบบ้านและพื้นที่ใช้สอย จึงควรแบ่งสรรพื้นที่ใช้สอยให้ดี ๆ read more